สำหรับบริษัท
สงกรานต์ 2565 เช็กมาตรการโควิด จังหวัดท่องเที่ยวยอดฮิต สิ่งไหนทำได้-ไม่ได้

สงกรานต์ 2565 เช็กมาตรการโควิด จังหวัดท่องเที่ยวยอดฮิต สิ่งไหนทำได้-ไม่ได้

14 กันยายน 2565

สงกรานต์ 2565 เช็กมาตรการโควิด จังหวัดท่องเที่ยวยอดฮิต สิ่งไหนทำได้-ไม่ได้

14 กันยายน 2565

       เทศกาลสงกรานต์ 2565 วันที่ 13-15 เมษายน 2565 หลายคนคงมีแพลนเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว บางคนได้หยุดถึง 5 วัน เพราะติดกับวันหยุดสุดสัปดาห์ เสาร์-อาทิตย์ ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงนี้ ยังอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้จังหวัดต่างๆ มีการเตรียมพร้อมมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด โดยในแต่ละพื้นที่ได้ประกาศอนุญาตให้มีการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน
       โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น โคราช ภูเก็ต ใครที่ต้องการไปเที่ยว หรือกลับภูมิลำเนา จะต้องทำความเข้าใจถึงมาตรการต่างๆ เพื่อให้ทราบว่ากิจกรรมใดบ้างทำได้ และกิจกรรมใดบ้างไม่สามารถทำได้ ดังนี้

       สำหรับในพื้นที่ "กรุงเทพมหานคร" ได้ประกาศเรื่อง กำหนดสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม ที่สามารถดำเนินการได้เป็นกรณีเฉพาะ เพื่อการจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 10-15 เมษายน 2565 โดยมีข้อสาระสำคัญดังนี้
• จัดงานสงกรานต์ได้ตามวัฒนธรรมประเพณี เช่น สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว การละเล่นตามประเพณี การแสดงทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี
• จัดงานไม่เกิน 1,000 คน ขออนุญาตสำนักงานเขตพื้นที่ ก่อนจัดงานอย่างน้อย 5 วัน
• จัดงานเกิน 1,000 คน ขออนุญาตสำนักอนามัย ก่อนจัดงานอย่างน้อย 5 วัน
• พื้นที่ได้รับอนุญาต สามารถจัดงานได้ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น แสดงผลการฉีดวัคซีน มีจุดคัดกรองบริเวณทางเข้า-ออก
• ห้ามจำหน่ายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน
• ห้ามสาดน้ำ ประแป้ง หรือกิจกรรมในลักษณะปาร์ตี้โฟม ในพื้นที่สาธารณะ
• ควบคุมจำนวนคน จำกัดพื้นที่ 4 ตร.ม.ต่อคน แสดงผลการฉีดวัคซีนตามที่ราชการกำหนด
• ยกเว้นครอบครัว จัดงานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19

สงกรานต์ เชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นเมืองยอดฮิตที่หลายคนอยากไปเยือนช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะถนนริมคูเมือง บริเวณข่วงประตูท่าแพ ซึ่งในปีนี้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกคำสั่งเรื่อง มาตรการจัดงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยกำหนดเป็น 3 ช่วง ได้แก่

• มาตรการที่ 1 ก่อนจัดงาน
ผู้เข้าร่วมงานต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด จำนวนไม่น้อยกว่า 3 เข็ม/โดส หรือแสดงผลการตรวจหาเชื้อ ATK ก่อนร่วมงานภายใน 72 ชั่วโมง
ลงทะเบียนในระบบ Thai Stop Covid 2 plus และผ่านการประเมินตนเองตามมาตรฐานปลอดภัยสำหรับองค์กร ของกระทรวงสาธารณสุข กรณีจำนวนคนที่ร่วมกิจกรรมให้ดำเนินการตามคำสั่งเกี่ยวกับกิจกรรมรวมคนจำนวนมากที่ไม่เกิน หรือมากกว่า 500 คน


• มาตรการที่ 2 ระหว่างช่วงจัดงาน
กิจกรรมที่สามารถจัดได้จะมีในลักษณะของการเล่นน้ำ หรือจัดกิจกรรมตามวัฒนธรรมประเพณี เช่น สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว การละเล่นตามประเพณี การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ หรือการแสดงดนตรี กิจกรรมที่ห้ามมีการเล่น เช่น ประแป้ง และกิจกรรมในลักษณะปาร์ตี้โฟม ห้ามจำหน่ายและการบริโภคสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในบริเวณพื้นที่จัดกิจกรรม ให้มีจุดคัดกรองบริเวรทางเข้าออก และให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ หรือพื้นที่จัดกิจกรรม และให้ควบคุมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัดตามขนาดของสถานที่หรือพื้นที่ โดยใช้เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน

       ทั้งนี้คำสั่งฯ นี้ สั่งห้ามเล่นสาดน้ำ ประแป้ง และปาร์ตี้โฟม โดยเด็ดขาดในพื้นที่สาธารณะที่ไม่มีการควบคุมกำกับ และไม่ได้รับอนุญาตให้จัดงาน

• มาตรการที่ 3 หลังกลับจากงานสงกรานต์
ให้ผู้กลับจากการเข้าร่วมงาน สังเกตอาการตนเอง 7 วัน และหากพบว่ามีอาการสงสัยติดเชื้อให้ตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนจำนวนมากโดยไม่จำเป็นในช่วงที่อยู่ระหว่างสังเกตอาการ

สงกรานต์ ขอนแก่น
สำหรับในจังหวัดขอนแก่นได้มีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ฉบับที่ 27 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหสถาน หรืออยู่ที่สาธารณะ
2. ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค
• ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของบุคคลมากกว่า 600 คน หากเกินจำนวนตามที่กำหนด ทุกกรณีต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอในเขตท้องที่นั้นๆ
• ผู้จัดกิจกรรมต้องแจ้งมาตรการป้องกันโรคให้นายอำเภอในเขตพื้นที่ที่จัดกิจกรรมทราบล่วงหน้า เพื่อประเมินมาตรการก่อนจัดกิจกรรมเป็นเวลา 3 วัน สำหรับกรณีผู้ที่ได้รับอนุญาตก่อนมาตรการนี้ใช้บังคับให้ปฏิบัติตามที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้
3. กิจกรรม หรือการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้ สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต โดยให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางการกำหนดอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
• กิจกรรมเกี่ยวกับการขนส่ง หรือขนย้ายประชาชน ได้แก่ การขนส่งประชาชนเพื่อเดินทางไป หรือออกจากที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ศูนย์พักคอยรอการส่งตัว หรือสถานที่เพื่อการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อขั้นแรก
• กิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการสาธารณสุข
• กิจกรรมเกี่ยวกับการให้บริการ การให้ความช่วยเหลือหรืออำนวยประโยชน์ หรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
• การรวมกลุ่มของบุคคลตามปกติในที่พักอาศัย สถานที่ทำงาน การประชุมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการออกกำลังกายในสถานที่ตามที่ทางราชการกำหนด
4. ร้านค้าจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่ม สามารถเปิดให้นั่งรับประทานในร้านได้ตามเวลาปกติ โดยมาตรการนี้ให้ใช้บังคับกับร้านจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่ม ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์อาหาร คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

       โดยอนุญาตให้มีการบริโภคสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ สำหรับร้านที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย ในระดับ SHA Plus หรือมาตรการความปลอดภัยป้องกันโรคโควิด-19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ กรมอนามัย ได้ไม่เกิน 21.00 น.

5. ให้ปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ํา สถานประกอบกิจการอาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยให้ปิดเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง

6. ขอความร่วมมือให้ประชาชนงดการจัดกิจกรรมทางสังคมในลักษณะที่เป็นงานสังสรรค์ งานเลี้ยง หรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ เว้นแต่เป็นกรณีการจัดพิธีการตามประเพณีนิยม และมีมาตรการป้องกันโรคที่เพียงพอ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

7. การจัดกิจกรรม งานบุญประเพณี งานมงคลสมรส ฯลฯ หากมีความจําเป็นต้องจัด ขอให้ผู้จัด หรือผู้รับผิดชอบ งดจัดให้มีการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ขบวนแห่และมหรสพทุกชนิด และถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด

8. ขอความร่วมมือข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ บริษัทห้างร้าน สถานประกอบการ และประชาชน งดการจัดกิจกรรมทางสังคมในลักษณะที่เป็นงานสังสรรค์ งานเลี้ยง งานรื่นเริง หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน ยกเว้นบุคคลในครอบครัว

ข้อปฏิบัติหลังกลับจากสงกรานต์
อย่างไรก็ตาม กรมอนามัย ได้ออกแนวทางปฏิบัติหลังประชาชนกลับจากเทศกาลสงกรานต์ด้วยว่า ควรสังเกตอาการตนเอง 10 วันหลังกลับจากการร่วมกิจกรรม ปฏิบัติตาม DMHTTA เคร่งครัด เมื่อมีอาการคล้ายเป็นหวัด หรือสัมผัสเสี่ยงผู้ป่วย ให้คัดกรองตนเองด้วย ATK หากผลเป็นลบให้ตรวจซ้ำเมื่อครบ 7 วัน หรือเมื่อมีอาการ ช่วงสังเกตอาการให้เลี่ยงพบผู้คน และควรสวมหน้ากากตลอด

Cr. thairath


TAGS : อัปเดตตำแหน่งงาน , โควิด19 , สงกรานต์ , สมัครงาน , ต่างจังหวัด , สุดสัปดาห์ , กรุงเทพมหานคร , สมัครงาน , บทความผู้หางาน , อัพเดตตำแหน่งงาน , ฉีดวัคซีน , จุดคัดกรอง

บทความที่ได้รับความนิยม
งานที่น่าสนใจ